ชีวิตในสมัยที่มนุษย์ครองโลก มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมรอบตัว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อโลกทั้งระบบ ตั้งแต่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศไปจนถึงความหลากหลายทางชีวภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์มีความสำคัญพอให้เราเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่า “สมัยที่มนุษย์ปกครอง” หรือสมัย Anthropocene (จากภาษากรีกโบราณ ánthropos ที่แปลว่ามนุษย์) ได้หรือไม่
พวกคุณทุกคนควรจะเลิกพูดถึงสมัยโฮโลซีน เพราะยุคสมัยที่พวกเราอยู่น่าจะถือว่าเป็นสมัยที่มนุษย์ครองโลกมาตั้งนานแล้ว” นี่เป็นประโยคที่ Paul Crutzen นักเคมีด้านชั้นบรรยากาศ พูดกล่าวแทรกในการประชุมประจำปี 2000 แต่แท้จริงแล้ว นักเคมีคนดังกล่าวที่เป็นทั้งผู้รับรางวัลโนเบลและผู้ค้นพบหลุมในชั้นโอโซนกำลังรู้สึกโมโหเรื่องอะไรกันแน่
สมัยโฮโลโซนเป็นยุคสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกในช่วง 11,700 ปีก่อน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย เป็นยุคที่ภูมิอากาศมีความคงที่อย่างน่าประหลาดใจ จนทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายท่านต่างก็มีความเห็นว่า ภูมิอากาศดังกล่าวเป็นเงื่อนไขหลักที่สำคัญต่อการพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเหล่ามวลมนุษย์ แต่ยุคสมัยแห่งการพัฒนาการดังกล่าวก็น่าจะสิ้นสุดไปแล้ว ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการพัฒนาทางอุตสาหกรรม อุณหภูมิโดยเฉลี่ยก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวน่าจะมาจากการกระทำของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาทางเกษตรกรรม การเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก และการจราจรของมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
ตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ชีวิตในสมัยที่มนุษย์ครองโลก
มนุษย์พยายามควบคุมและกำหนดรูปร่างของสิ่งแวดล้อมรอบตัวมาเป็นเวลานับพันปี เริ่มจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างแพร่หลายในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปี ค.ศ. 1800 แต่ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 กิจกรรมของมนุษย์ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งโลกในอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น นักวิจัยชั้นนำด้านยุคแอนโธรโพซีนจึงสังเกตเห็นจุดเริ่มต้นของ “ยุคแอนโธรโพซีน” ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรโลกควบคู่ไปกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้นยังนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในชั้นบรรยากาศอีกด้วย การพัฒนานี้เรียกว่าการเร่งความเร็วครั้งใหญ่ในภาษาอังกฤษ หรือ “เครื่องเร่งความเร็วครั้งใหญ่” ในภาษาไทยชีวิตในสมัยที่มนุษย์ครองโลก
คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ “เครื่องเร่งความเร็วครั้งใหญ่” ได้ในไฟล์ข้อมูล “Anthropozän” ในศูนย์การศึกษาด้านการเมือง (bpb) กล้วยมีหลากหลายสายพันธุ์ในโลก แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่สามารถรับประทานได้ กล้วยมีการผสมข้ามพันธุ์มากกว่า 1,000 วิธี แต่ส่วนใหญ่คุณจะพบกล้วยพันธุ์เดียวในร้านค้าในยุโรปและอเมริกา “กล้วยเขียว” เป็นพันธุ์ที่มีรสชาติอ่อนๆ เกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อกล้วยยังเขียวอยู่เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งและจำหน่าย
ประชากรสัตว์ปีกในเยอรมนีและยุโรปลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสายพันธุ์นกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งลดลงอย่างน่าตกใจ จำนวนคู่ผสมพันธุ์ของนกในพื้นที่เกษตรกรรมในสหภาพยุโรปลดลงประมาณ 300 ล้านคู่ระหว่างปี 1980 ถึง 2010 ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นในทะเลส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล โดยเฉพาะสัตว์ที่มีโครงสร้างเป็นหินปูนเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น ตัวอ่อนของคริลล์ไม่สามารถสร้างเกราะไคตินได้ ซึ่งหมายความว่าไข่คริลล์ไม่สามารถพัฒนาเป็นคริลล์ที่สมบูรณ์ได้ คริลล์เป็นแหล่งอาหารสำคัญในห่วงโซ่อาหารของสัตว์ทะเลหลายชนิด เช่น วาฬสีน้ำเงิน ซึ่งกินสัตว์จำพวกครัสเตเชียนมากถึง 40 ล้านตัวต่อวัน
การเดินทางของยีนพันธุกรรม
สายพันธุ์ใหม่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในวันสองวัน หากแต่เป็นกระบวนการที่มีระยะเวลานานมาก นั่นหมายรวมถึงการกำเนิดของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียน ในปี 2017 ได้มีการค้นพบซากกระดูกของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียนยุคแรกๆ ที่มีอายุกว่า 300,000 ปีในการขุดทางโบราณคดีที่เมือง Jebel Irhoud ประเทศมอร็อคโค หลักฐานดังกล่าวไม่ตรงกับทฤษฏีที่เชื่อถือกันมานานว่า มนุษย์ปัจจุบันมีต้นกำเนิดทางตะวันออกของแอฟริกา ในปัจจุบัน เราทราบกันดีแล้วว่า “มนุษย์ปัจจุบัน” ได้ตั้งรกรากอาศัยอยู่ทั่วทั้งทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ประมาณ 300,000 ปีก่อน และฟอสซิลอายุถึง 260,000 ปีที่พบที่ Florisbad ในประเทศแอฟริกาใต้ก็ยืนยันเรื่องดังกล่าว การโยกย้ายถิ่นฐานและวิวัฒนาการที่ซับซ้อนในทวีปแอฟริกาทั้งทวีปทำให้มนุษย์ชาติถือกำเนิดขึ้น โดยมีเครือข่ายทางสังคมเป็นเครื่องมือส่งผ่านยีนพันธุกรรมและเทคนิคทางวัฒนธรรมในพื้นที่ที่ห่างกันออกไปได้
ประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติเป็นหัวข้อวิจัยที่เป็นที่สนใจอย่างมาก โดยนักวิจัยค้นพบฟอสซิลและสิ่งประดิษฐ์สมัยก่อนอยู่ตลอดเวลา และวิธีการวิจัยที่ทันสมัยก็ช่วยให้เราเข้าใจความเชื่อมโยงของเรื่องต่างๆ ในมุมมองใหม่โดยวิธีการวิเคราะห์ผลก็พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ผู้อำนวยการ Svante Pääbo สถาบันวิจัยด้านวิวัฒนาการมานุษยวิทยา สถาบัน Max Planck ในเมืองไลป์ซิก นับว่าเป็นผู้ก่อตั้งแผนงการวิจัยใหม่ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนที่เรียกว่า วิชาศึกษายีนยุคดึกดำบรรพ์ ผลวิเคราะห์ยีนพันธุกรรมของซากกระดูกที่ขุดพบได้เปลี่ยนแปลงภาพความเข้าใจของพัฒนาการมนุษย์อย่างสิ้นเชิง ภาพต่อไปนี้เป็นภาพผลการวิจัยล่าสุดของปี 2020 ผลลัพท์การวิจัยล่าสุดมีอะไรบ้างชีวิตในสมัยที่มนุษย์ครองโลก